วันที่ 18 มีนาคม 2564 : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค-สวทช. ประกาศเผยแพร่พิมพ์เขียวต้นแบบผลงานวิจัย HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ร่วมกับพันธมิตร ประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จังหวัดฉะเชิงเทรา และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ขับเคลื่อนสมาร์ตฟาร์มแบบเปิดสู่สังคมไทย ตั้งเป้าหมายให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ หรือผู้สนใจทั่วไปนำไปผลิตเพื่อใช้หรือจำหน่ายได้ ภายใต้แนวคิด Smart Farming Open Innovation หรือ นวัตกรรมแบบเปิด ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่เปิดเผยรายละเอียดการผลิต และอนุญาตให้สาธารณะนำไปผลิตและใช้งานโดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ (License Fee) และค่าตอบแทนการใช้สิทธิรายปี (Royalty Fee) โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรไทยยุคใหม่ ได้มีเครื่องมือที่ทันสมัย… Continue reading HandySense นวัตกรรมด้านการเกษตรแบบเปิด เพื่อประโยชน์สาธารณะ
กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร จับมือเนคเทค ธกส. และหน่วยงานพันธมิตร เผยแพร่พิมพ์เขียวระบบเกษตรอัจฉริยะ “HandySense”
กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร จับมือเนคเทค ธกส. และหน่วยงานพันธมิตร เผยแพร่พิมพ์เขียวระบบเกษตรอัจฉริยะ “HandySense” มุ่งพัฒนาการผลิต และคุณภาพสินค้า ยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานแถลงข่าว “โครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่” HandySense : Smart Farming Open Innovation ณ กรมส่งเสริมการเกษตร ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ธกส. และหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ คือ ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) โดยการสร้างต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์ปฏิบัติการในสังกัดของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 50 ศูนย์ พร้อมพัฒนาความรู้ทักษะในการบริหารจัดการให้แก่เกษตรกรต้นแบบ ใน ศพก. และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อยกระดับเป็นวิทยากรเกษตรอัจฉริยะ รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบอัจฉริยะ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรได้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของชุมชน ซึ่งเชื่อมโยงนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก… Continue reading กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร จับมือเนคเทค ธกส. และหน่วยงานพันธมิตร เผยแพร่พิมพ์เขียวระบบเกษตรอัจฉริยะ “HandySense”
พิมพ์เขียวเกษตรอัจฉริยะใช้เงินทุนไม่เกิน 5 พันบาท
พิมพ์เขียวเกษตรอัจฉริยะใช้เงินทุนไม่เกิน 5 พันบาท – กรุงเทพธุรกิจ | 19 มี.ค. 2564 | หน้า 5 |โดย ยุพิน พงษ์ทอง กรุงเทพธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพอากาศ และเศรษฐกิจของโลกกำลังเป็นตัวผลักดัน ให้ภาคการเกษตรต้องปรับระบบการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพให้สูงขึ้นในขณะที่โจทย์การ ทำต้นทุนการผลิตให้ลดลง พร้อมกับ การใช้เงินลงทุนที่ไม่สูงด้วย ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิดโครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่” HandySense : Smart Farming Open Innovation ว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ดีแทคและหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ คือ ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) โดยการสร้างต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตร ด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์ปฏิบัติการในสังกัดของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 50 ศูนย์ พร้อมพัฒนาความรู้ทักษะในการบริหารจัดการ… Continue reading พิมพ์เขียวเกษตรอัจฉริยะใช้เงินทุนไม่เกิน 5 พันบาท
ภาพข่าว: เกษตรอัจฉริยะ – ไทยรัฐ
ภาพข่าว: เกษตรอัจฉริยะ – ไทยรัฐ ( | 20 มี.ค. 2564 | หน้า 8 ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงข่าว โครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ Handy Sense : Smart Farming Open Innovation โดยกรมส่งเสริมการเกษตรกับเนคเทค ธ.ก.ส. เพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ คือ ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ณ กรมส่งเสริมการเกษตร ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ–จบ– –ไทยรัฐ () ฉบับวันที่ 20 มี.ค. 2564 (กรอบบ่าย)–
HandySense นวัตกรรมด้านการเกษตรแบบเปิด เพื่อประโยชน์สาธารณะ
เนคเทค-สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาระบบสมาร์ตฟาร์มที่ชื่อว่า “HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ” มาตั้งแต่ปี2560 ในระยะแรกได้มีการนำผลงานวิจัยไปขยายผลให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ภายใต้โครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ดีแทค ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ เนคเทค-สวทช. มีเป้าหมายการพัฒนาให้เกิดฟาร์มต้นแบบ โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพการเพาะปลูก ซึ่งได้มีการทดลองใช้กับ 30 ฟาร์ม ใน 23 จังหวัด โดยการใช้อุปกรณ์ที่สำคัญประกอบด้วยกล่องเซนเซอร์ที่กระจายอยู่ในโรงเรือนเพาะปลูก ใช้สำหรับวัดความชื้นในดินและในอากาศ อุณหภูมิและแสง จากนั้นทำการประมวลผลแล้วส่งข้อมูลจากแปลงเพาะปลูกไปยังสมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ตของเกษตรกรแบบ real-time เพื่อให้เกษตรกรสามารถควบคุมดูแลสภาพในแปลงเพาะปลูกได้อย่างใกล้ชิด และแก้ปัญหาได้หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวทีมนักวิจัยของเนคเทค-สวทช. ได้เดินหน้าสู่การนำผลงานวิจัยและองค์ความรู้ของอุปกรณ์HandySense ไปขยายผลในหลายพื้นที่ อาทิ ในปี พ.ศ. 2562 โดยการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดฉะเชิงเทรา มีการขยายผลการใช้งานจริงในพื้นที่ทำการเกษตรปลอดภัยสูงหรือผักปลอดภัยให้กับเกษตรกรผู้สนใจใน 34 แห่ง ผลการดำเนินงาน พบว่าช่วยให้เกษตรกรสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของพืช ระบบใช้งานง่าย ทนทานราคาประหยัด สามารถลดการใช้แรงงานได้ประมาณ 50% มีรายได้จากการเพิ่มคุณภาพปริมาณผลผลิตและลดการใช้ทรัพยากรโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 20% และในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ขยายผลเพิ่มอีก 50 แห่ง โดยเป็นการมุ่งเน้นการควบคุมกระบวนการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดฉะเชิงเทราให้ได้อย่างเหมาะสม ที่มา : HandySense นวัตกรรมด้านการเกษตรแบบเปิด เพื่อประโยชน์สาธารณะ (mcot.net)
HandySense นวัตกรรมด้านการเกษตรแบบเปิด เพื่อประโยชน์สาธารณะ
HandySense ขับเคลื่อนสมาร์ทฟาร์มแบบเปิดสู่สังคมไทย ตั้งเป้าหมายให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ หรือผู้สนใจทั่วไปนำไปผลิตเพื่อใช้หรือจำหน่ายได้ ภายใต้แนวคิด Smart Farming Open Innovation หรือ นวัตกรรมแบบเปิด ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่เปิดเผยรายละเอียดการผลิต และอนุญาตให้สาธารณะนำไปผลิตและใช้งานโดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ (License Fee) และค่าตอบแทนการใช้สิทธิรายปี (Royalty Fee) โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรไทยยุคใหม่ ได้มีเครื่องมือที่ทันสมัย ใช้งานในราคาที่จับต้องได้ และต้องการให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือทางด้านสมาร์ทฟาร์มโดยผู้ประกอบการไทย เนคเทค-สวทช. ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาระบบสมาร์ทฟาร์มที่ชื่อว่า “HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ” มาตั้งแต่ปี 2560 ในระยะแรกได้มีการนำผลงานวิจัยไปขยายผลให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ภายใต้โครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ดีแทค ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ เนคเทค-สวทช. มีเป้าหมายการพัฒนาให้เกิดฟาร์มต้นแบบ โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพการเพาะปลูก ซึ่งได้มีการทดลองใช้กับ 30 ฟาร์ม ใน 23 จังหวัด โดยการใช้อุปกรณ์ที่สำคัญประกอบด้วยกล่องเซนเซอร์ที่กระจายอยู่ในโรงเรือนเพาะปลูก ใช้สำหรับวัดความชื้นในดินและในอากาศ อุณหภูมิ และแสง… Continue reading HandySense นวัตกรรมด้านการเกษตรแบบเปิด เพื่อประโยชน์สาธารณะ
ก.เกษตรฯจับมือพันธมิตรเผยแพร่พิมพ์เขียวระบบเกษตรอัจฉริยะ “HandySense” หวังพัฒนาภาคเกษตรครบวงจร
กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือเนคเทค ธ.ก.ส. และหน่วยงานพันธมิตร เดินหน้า “โครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่” HandySense : Smart Farming Open Innovation จัดทำต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ เป้าหมายจะดำเนินการ 16 จุด เป้าขยายผลให้ครบทั้ง 50 ศูนย์ปฏิบัติการภายในปี 2566 หวังพัฒนาการผลิต และคุณภาพสินค้า ยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานแถลงข่าว “โครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่” HandySense : Smart Farming Open Innovation ณ กรมส่งเสริมการเกษตร ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณืการเกษตร ธ.ก.ส. และหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ คือ ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) โดยการสร้างต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์ปฏิบัติการในสังกัดของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 50 ศูนย์ พร้อมพัฒนาความรู้ทักษะในการบริหารจัดการให้แก่เกษตรกรต้นแบบ ใน ศพก.… Continue reading ก.เกษตรฯจับมือพันธมิตรเผยแพร่พิมพ์เขียวระบบเกษตรอัจฉริยะ “HandySense” หวังพัฒนาภาคเกษตรครบวงจร
เติมเต็ม Ecosystemให้ “ HandySense ”ยกระดับเกษตรกรไทยด้วยงานวิจัยอย่างยั่งยืน
“ใช้งานง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและมีราคาที่เกษตรกรไทยสามารถเข้าถึงได้” นี่คือจุดเด่นและเป็นเจตนารมย์ของนักวิจัยที่ริเริ่มพัฒนาอุปกรณ์อัจฉริยะอย่าง “ HandySense” (แฮนดี้ เซนส์) ขึ้น เพื่อเป็นตัวช่วยในการเริ่มต้นทำเกษตรยุคใหม่ให้กับเกษตรกรไทย ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติภายใต้การขับเคลื่อนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการยกระดับเกษตรกรไทยจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่ยังต้องใช้แรงงานคนและขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ มาสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ ที่เป็นเกษตรแม่นยำและเกษตรมูลค่าสูง โดย “HandySense” หรือ “ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ” ริเริ่มและพัฒนาโดย “นายนริชพันธ์ เป็นผลดี” ผู้ช่วยนักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากการเป็นลูกหลานเกษตรกร อาชีพดั้งเดิมของครอบครัว เมื่อคุณพ่อ ซึ่งเกษียณอายุการทำงาน กลับไปทำอาชีพเกษตรกรอีกครั้ง “นริชพันธ์” หรือ “ตุ้น” ซึ่งเป็นนักวิจัยที่พัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเซนเซอร์และไอโอที ( Internet of things: IoT) จึงคิดที่จะประยุกต์ความรู้ที่มี พัฒนาเป็น “อุปกรณ์อัจฉริยะ” เทคโนโลยีตัวช่วยที่จะทำให้ครอบครัวและเกษตรกรคนอื่น ๆ สามารถทำงานด้านการเกษตรได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ระบบบริหารจัดการฟาร์มอัจฉริยะ “HandySense” อาศัยการทำงานของเทคโนโลยีไอโอทีและเซนเซอร์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือ ระบบเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดค่าสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชแบบเรียลไทม์ผ่านเซนเซอร์ เช่น เซนเซอร์วัดความเข้มแสง อุณหภูมิ ความชื้นในดิน และในอากาศ แสง และส่งต่อข้อมูลจากเซนเซอร์ผ่านระบบคลาวด์ ไปยังส่วนที่ 2… Continue reading เติมเต็ม Ecosystemให้ “ HandySense ”ยกระดับเกษตรกรไทยด้วยงานวิจัยอย่างยั่งยืน
พิมพ์เขียวเกษตรอัจฉริยะ ใช้เงินทุนไม่เกิน 5 พันบาท
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และเศรษฐกิจโลกกำลังเป็นตัวผลักดันให้ภาคการเกษตรต้องปรับระบบการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพให้สูงขึ้นในขณะที่โจทย์การทำต้นทุนการผลิตให้ลดลง พร้อมกับการใช้เงินลงทุนที่ไม่สูง ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิดโครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่” HandySense : Smart Farming Open Innovation ว่า กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ดีแทคและหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ คือ ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) โดยการสร้างต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์ปฏิบัติการในสังกัดของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 50 ศูนย์ พร้อมพัฒนาความรู้ทักษะในการบริหารจัดการ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบอัจฉริยะ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรได้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของชุมชน เพื่อยกระดับสู่การทําเกษตรสมัยใหม่ และเกษตรแบบแม่นยํา (Precision Agriculture) เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว่า โครงการ Handy Sense มีเป้าหมายจะดำเนินการ รวม 16 จุด แบ่งเป็น ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จำนวน 6 ศูนย์ (เขตละ 1 ศูนย์)… Continue reading พิมพ์เขียวเกษตรอัจฉริยะ ใช้เงินทุนไม่เกิน 5 พันบาท
เตรียมปล่อยให้ใช้ฟรี ! พิมพ์เขียว HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ
HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ผนวกเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตร และระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติ ได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ด้วยหวังให้เกษตรกรไทยได้ใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในราคาที่จับต้องได้ จากการติดตั้งใช้งานจริงในหลายจังหวัดทั่วประเทศ พิสูจน์แล้วว่า HandySense สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างน้อย 20% จากการลดต้นทุนผลิต ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สู่การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต วันนี้ HandySense พร้อมแล้วที่จะเปิดเผยองค์ความรู้ด้านการผลิตสู่สาธารณะในรูปแบบ Open Innovation โดยเร็ว ๆ นี้ เนคเทค-สวทช. และพันธมิตร เตรียมปล่อยพิมพ์เขียวการผลิต HandySense ทั้ง Schematic, PCB Design, Bill of Material และ Firmware ให้ทุกคนสามารถนำไปผลิต หรือ ต่อยอดการพัฒนาได้อย่างอิสระ เพื่อร่วมกันผลักดันให้ HandySene เป็นอุปกรณ์ Smart Farm ที่ทุกคนต้องมี ! ติดตามการเปิดตัวพร้อมกันเร็ว ๆ นี้ . . . จองสิทธิ์การใช้งานพิมพ์เขียว HandySense
เนคเทค-สวทช. ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือพัฒนา “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ”
24 มีนาคม 2560 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ร่วมกับ ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตรและ ร่วมมือกันพัฒนา “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ฟาร์มต้นแบบในการพัฒนาเกษตรแม่นยำผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) หวังเสริมแกร่งเกษตรกรรายย่อย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพทางการเกษตร คิกออฟประเทศไทยสู่ยุคเกษตรกรรม 4.0 เต็มรูปแบบ ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค กล่าวว่า ภาคเกษตรกรรม ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติการเนคเทคระยะ 5 ปี พ.ศ.2560 – 2564 ที่มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ประเทศ ยกระดับมาตรฐานของผลผลิตทางการเกษตรในแง่ของปริมาณและคุณภาพ ซึ่งที่ผ่านมาได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุน Smart Farm อาทิ เทคโนโลยี What2grow ที่นำไปใช้ใน AgriMap Online สถานีตรวจวัดข้อมูลสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และเครื่องนับเมล็ดปาล์มอัตโนมัติ สำหรับโครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของเนคเทค ได้พัฒนาด้านเทคโนโลยีด้านเซนเซอร์ โดยสร้างระบบควบคุมการเพาะปลูกแบบเครือข่ายเกษตรกร จำเพาะเจาะจงตามชนิดของพืช… Continue reading เนคเทค-สวทช. ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือพัฒนา “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ”
งานแถลงข่าวสรุปผลงาน สวทช. ประจำปี 2563 (5/6)
Handy Sense ระบบเกษตรอัจฉริยะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชาวเกษตรพร้อมทั้งขยายต่อเศรษฐกิจ EEC
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) ใช้งานจริงในพื้นที่ทำการเกษตรปลอดภัยสูงหรือผักปลอดภัย จังหวัดฉะเชิงเทรา ช่วยให้สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของพืช ใช้งานง่าย ทนทาน ราคาถูก ตรวจวัดเกษตรได้อย่างแม่นยำ 5 มีนาคม 2563 จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร ลงพื้นที่การเกษตรติดตามความก้าวหน้าภายหลังจากการ “ถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense)” โดยมี ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวแนะนำและให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชน ณ ฟาร์มผักปลอดภัยสูง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งคุณจิตรกร เผด็จศึก ประธานสหกรณ์ปลูกผักปลอดภัยสูง ให้การต้อนรับพร้อมนำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมฟาร์มที่ติดตั้งระบบ Handy Sense ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส และทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ หน่วยทรัพยากรด้านการคำนวณและไซเบอร์-กายภาพ ได้นำไปติดตั้งในฟาร์มผักปลอดภัยสูง และนำผลผลิตที่ได้จากการนำงานวิจัยมาใช้งานในฟาร์มมาจำหน่าย หลังจากนั้น นำคณะสื่อมวลชนเข้าดูงานที่นำระบบ… Continue reading Handy Sense ระบบเกษตรอัจฉริยะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชาวเกษตรพร้อมทั้งขยายต่อเศรษฐกิจ EEC
Handy Sense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ – Smart Farm จากความเข้าใจเกษตรกรไทย
สัมภาษณ์ | คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) เนคเทค – สวทช. บทความ | วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์ วิดีโอ | ศศิวิภา หาสุข ภาพประกอบ| ศศิวิภา หาสุข, กรรวี แก้วมูล ไม่ว่าสิ่งรอบตัวจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน แต่ปัจจัยที่ยังยืนหนึ่งของวงการเกษตรไทยไม่เปลี่ยนแปลง คือ สภาพดินฟ้าอากาศซึ่งมีผลโดยตรงต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต แม้สภาพอากาศในปัจจุบันจะแปรปรวนยากต่อการควบคุม แต่วิธีการทางการเกษตรได้อัพเกรดสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farm ตอบรับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามความสมาร์ตอย่างเดียวอาจไม่ใช่ทางออก หากเกษตรกรไม่สามารถเข้าใจและเข้าถึงการใช้งานได้อย่างแท้จริง เนคเทคชวนคุณนริชพันธ์ เป็นผลดี ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) เนคเทค – สวทช. แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ “Handy Sense” อุปกรณ์ Smart Farm ที่สร้างขึ้นจากความเข้าใจเกษตรกรไทย รู้จัก Handy Sense เริ่มต้นจากความเข้าใจเกษตรกรไทย “Handy… Continue reading Handy Sense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ – Smart Farm จากความเข้าใจเกษตรกรไทย
ตชด.ภาค 1 จับมือเนคเทค จัดโครงการ “เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียง”
กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค-สวทช. เปิดศูนย์เรียนรู้ “เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียง” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2563 และสนองตามพระบรมราโชบายในการ “สืบสาน รักษา และต่อยอด” องค์ความรู้และพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมุ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ระบบสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียงให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สามารถนำไปใช้ถ่ายทอดวิชาให้กับนักเรียนและประชาชนในพื้นที่ ก่อให้เกิดการทำเกษตรกรรมยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และใช้ประโยชน์ได้ ณ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียง พล.ต.ต.ไพโรจน์ ทานธรรม ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 กล่าวว่า “ด้วยยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561 – 2580 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และที่สำคัญที่สุดคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงรับสั่งให้… Continue reading ตชด.ภาค 1 จับมือเนคเทค จัดโครงการ “เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียง”
มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ เนคเทค-สวทช. และดีแทค ลงนามความร่วมมือนำร่องโครงการฟาร์มสาธิตเห็ดหลินจือด้วยโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ”
มูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563: ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค – สวทช. และ นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ลงนามความร่วมมือนำร่องโครงการแปลงฟาร์มสาธิตเห็ดหลินจือที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนาพื้นที่การเกษตรที่สูงผ่านโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ” ที่ใช้เทคโนโลยี IoT และเซนเซอร์ครบวงจร ที่ทำงานร่วมกับ Cloud Service Mobile Application ที่ดีแทคพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นระบบควบคุมการเพาะปลูกแบบในโรงเรือนให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ทุกฤดู มุ่งผนึกกำลังสร้างเป็นองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้ชุมชนโดยรอบและเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวถึงความร่วมมือดังกล่าวว่า “ตามที่สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น… Continue reading มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ เนคเทค-สวทช. และดีแทค ลงนามความร่วมมือนำร่องโครงการฟาร์มสาธิตเห็ดหลินจือด้วยโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ”