Category: example
HandySense | EP.6 ระบบเกษตรแม่นยำฟาร์มอัจฉริยะ – Young Smart Farmer
HandySense | EP.5 ระบบเกษตรแม่นยำฟาร์มอัจฉริยะ – นักวิจัย
HandySense | EP.3 ระบบเกษตรแม่นยำฟาร์มอัจฉริยะ – ปราชญ์เกษตร
HandySense | EP.2 ระบบเกษตรแม่นยำฟาร์มอัจฉริยะ – ผู้ประกอบการ
HandySense | EP.1 ระบบเกษตรแม่นยำฟาร์มอัจฉริยะ “เพื่อทุกคน”
ฟาร์มเลม่อน 9.3.2020
agri-inno asia 2019
Smart Farmer ฉะเชิงเทรารวมตัว อัพเดทกลยุทธ์ระบบเกษตรอัจฉริยะ 6.3.2020
Handy Sense ระบบเกษตรอัจฉริยะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชาวเกษตรพร้อมทั้งขยายต่อเศรษฐกิจ EEC
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) ใช้งานจริงในพื้นที่ทำการเกษตรปลอดภัยสูงหรือผักปลอดภัย จังหวัดฉะเชิงเทรา ช่วยให้สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของพืช ใช้งานง่าย ทนทาน ราคาถูก ตรวจวัดเกษตรได้อย่างแม่นยำ 5 มีนาคม 2563 จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร ลงพื้นที่การเกษตรติดตามความก้าวหน้าภายหลังจากการ “ถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense)” โดยมี ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวแนะนำและให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชน ณ ฟาร์มผักปลอดภัยสูง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งคุณจิตรกร เผด็จศึก ประธานสหกรณ์ปลูกผักปลอดภัยสูง ให้การต้อนรับพร้อมนำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมฟาร์มที่ติดตั้งระบบ Handy Sense ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส และทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ หน่วยทรัพยากรด้านการคำนวณและไซเบอร์-กายภาพ ได้นำไปติดตั้งในฟาร์มผักปลอดภัยสูง และนำผลผลิตที่ได้จากการนำงานวิจัยมาใช้งานในฟาร์มมาจำหน่าย หลังจากนั้น นำคณะสื่อมวลชนเข้าดูงานที่นำระบบ… Continue reading Handy Sense ระบบเกษตรอัจฉริยะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชาวเกษตรพร้อมทั้งขยายต่อเศรษฐกิจ EEC
Handy Sense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ – Smart Farm จากความเข้าใจเกษตรกรไทย
สัมภาษณ์ | คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) เนคเทค – สวทช. บทความ | วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์ วิดีโอ | ศศิวิภา หาสุข ภาพประกอบ| ศศิวิภา หาสุข, กรรวี แก้วมูล ไม่ว่าสิ่งรอบตัวจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน แต่ปัจจัยที่ยังยืนหนึ่งของวงการเกษตรไทยไม่เปลี่ยนแปลง คือ สภาพดินฟ้าอากาศซึ่งมีผลโดยตรงต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต แม้สภาพอากาศในปัจจุบันจะแปรปรวนยากต่อการควบคุม แต่วิธีการทางการเกษตรได้อัพเกรดสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farm ตอบรับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามความสมาร์ตอย่างเดียวอาจไม่ใช่ทางออก หากเกษตรกรไม่สามารถเข้าใจและเข้าถึงการใช้งานได้อย่างแท้จริง เนคเทคชวนคุณนริชพันธ์ เป็นผลดี ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) เนคเทค – สวทช. แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ “Handy Sense” อุปกรณ์ Smart Farm ที่สร้างขึ้นจากความเข้าใจเกษตรกรไทย รู้จัก Handy Sense เริ่มต้นจากความเข้าใจเกษตรกรไทย “Handy… Continue reading Handy Sense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ – Smart Farm จากความเข้าใจเกษตรกรไทย
ตชด.ภาค 1 จับมือเนคเทค จัดโครงการ “เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียง”
กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค-สวทช. เปิดศูนย์เรียนรู้ “เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียง” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2563 และสนองตามพระบรมราโชบายในการ “สืบสาน รักษา และต่อยอด” องค์ความรู้และพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมุ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ระบบสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียงให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สามารถนำไปใช้ถ่ายทอดวิชาให้กับนักเรียนและประชาชนในพื้นที่ ก่อให้เกิดการทำเกษตรกรรมยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และใช้ประโยชน์ได้ ณ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียง พล.ต.ต.ไพโรจน์ ทานธรรม ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 กล่าวว่า “ด้วยยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561 – 2580 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และที่สำคัญที่สุดคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงรับสั่งให้… Continue reading ตชด.ภาค 1 จับมือเนคเทค จัดโครงการ “เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียง”