พิมพ์เขียวเกษตรอัจฉริยะใช้เงินทุนไม่เกิน 5 พันบาท

พิมพ์เขียวเกษตรอัจฉริยะใช้เงินทุนไม่เกิน 5 พันบาท – กรุงเทพธุรกิจ | 19 มี.ค. 2564 | หน้า 5 |โดย ยุพิน พงษ์ทอง กรุงเทพธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพอากาศ และเศรษฐกิจของโลกกำลังเป็นตัวผลักดัน ให้ภาคการเกษตรต้องปรับระบบการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพให้สูงขึ้นในขณะที่โจทย์การ ทำต้นทุนการผลิตให้ลดลง พร้อมกับ การใช้เงินลงทุนที่ไม่สูงด้วย ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิดโครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่” HandySense : Smart Farming Open Innovation ว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ดีแทคและหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ คือ ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) โดยการสร้างต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตร ด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์ปฏิบัติการในสังกัดของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 50 ศูนย์ พร้อมพัฒนาความรู้ทักษะในการบริหารจัดการ… Continue reading พิมพ์เขียวเกษตรอัจฉริยะใช้เงินทุนไม่เกิน 5 พันบาท

Published
Categorized as news

ภาพข่าว: เกษตรอัจฉริยะ – ไทยรัฐ

ภาพข่าว: เกษตรอัจฉริยะ – ไทยรัฐ ( | 20 มี.ค. 2564 | หน้า 8 ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงข่าว โครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ Handy Sense : Smart Farming Open Innovation โดยกรมส่งเสริมการเกษตรกับเนคเทค ธ.ก.ส. เพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ คือ ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ณ กรมส่งเสริมการเกษตร ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ–จบ– –ไทยรัฐ () ฉบับวันที่ 20 มี.ค. 2564 (กรอบบ่าย)–

Published
Categorized as news

HandySense นวัตกรรมด้านการเกษตรแบบเปิด เพื่อประโยชน์สาธารณะ

เนคเทค-สวทช. ได้วิจัยและพัฒนาระบบสมาร์ตฟาร์มที่ชื่อว่า “HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ” มาตั้งแต่ปี2560 ในระยะแรกได้มีการนำผลงานวิจัยไปขยายผลให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ภายใต้โครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ดีแทค ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ เนคเทค-สวทช. มีเป้าหมายการพัฒนาให้เกิดฟาร์มต้นแบบ โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพการเพาะปลูก ซึ่งได้มีการทดลองใช้กับ 30 ฟาร์ม ใน 23 จังหวัด โดยการใช้อุปกรณ์ที่สำคัญประกอบด้วยกล่องเซนเซอร์ที่กระจายอยู่ในโรงเรือนเพาะปลูก ใช้สำหรับวัดความชื้นในดินและในอากาศ อุณหภูมิและแสง จากนั้นทำการประมวลผลแล้วส่งข้อมูลจากแปลงเพาะปลูกไปยังสมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ตของเกษตรกรแบบ real-time เพื่อให้เกษตรกรสามารถควบคุมดูแลสภาพในแปลงเพาะปลูกได้อย่างใกล้ชิด และแก้ปัญหาได้หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ           จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวทีมนักวิจัยของเนคเทค-สวทช. ได้เดินหน้าสู่การนำผลงานวิจัยและองค์ความรู้ของอุปกรณ์HandySense ไปขยายผลในหลายพื้นที่ อาทิ ในปี พ.ศ. 2562 โดยการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดฉะเชิงเทรา มีการขยายผลการใช้งานจริงในพื้นที่ทำการเกษตรปลอดภัยสูงหรือผักปลอดภัยให้กับเกษตรกรผู้สนใจใน 34 แห่ง ผลการดำเนินงาน พบว่าช่วยให้เกษตรกรสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของพืช ระบบใช้งานง่าย ทนทานราคาประหยัด สามารถลดการใช้แรงงานได้ประมาณ 50% มีรายได้จากการเพิ่มคุณภาพปริมาณผลผลิตและลดการใช้ทรัพยากรโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 20% และในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ขยายผลเพิ่มอีก 50 แห่ง โดยเป็นการมุ่งเน้นการควบคุมกระบวนการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดฉะเชิงเทราให้ได้อย่างเหมาะสม ที่มา : HandySense นวัตกรรมด้านการเกษตรแบบเปิด เพื่อประโยชน์สาธารณะ (mcot.net)

Published
Categorized as news

HandySense นวัตกรรมด้านการเกษตรแบบเปิด เพื่อประโยชน์สาธารณะ

HandySense ขับเคลื่อนสมาร์ทฟาร์มแบบเปิดสู่สังคมไทย ตั้งเป้าหมายให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ หรือผู้สนใจทั่วไปนำไปผลิตเพื่อใช้หรือจำหน่ายได้ ภายใต้แนวคิด Smart Farming Open Innovation หรือ นวัตกรรมแบบเปิด ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่เปิดเผยรายละเอียดการผลิต และอนุญาตให้สาธารณะนำไปผลิตและใช้งานโดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ (License Fee) และค่าตอบแทนการใช้สิทธิรายปี (Royalty Fee) โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรไทยยุคใหม่ ได้มีเครื่องมือที่ทันสมัย ใช้งานในราคาที่จับต้องได้ และต้องการให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือทางด้านสมาร์ทฟาร์มโดยผู้ประกอบการไทย เนคเทค-สวทช. ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาระบบสมาร์ทฟาร์มที่ชื่อว่า “HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ” มาตั้งแต่ปี 2560 ในระยะแรกได้มีการนำผลงานวิจัยไปขยายผลให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ภายใต้โครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ดีแทค ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ เนคเทค-สวทช. มีเป้าหมายการพัฒนาให้เกิดฟาร์มต้นแบบ โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพการเพาะปลูก ซึ่งได้มีการทดลองใช้กับ 30 ฟาร์ม ใน 23 จังหวัด โดยการใช้อุปกรณ์ที่สำคัญประกอบด้วยกล่องเซนเซอร์ที่กระจายอยู่ในโรงเรือนเพาะปลูก ใช้สำหรับวัดความชื้นในดินและในอากาศ อุณหภูมิ และแสง… Continue reading HandySense นวัตกรรมด้านการเกษตรแบบเปิด เพื่อประโยชน์สาธารณะ

Published
Categorized as news

ก.เกษตรฯจับมือพันธมิตรเผยแพร่พิมพ์เขียวระบบเกษตรอัจฉริยะ “HandySense” หวังพัฒนาภาคเกษตรครบวงจร

กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือเนคเทค ธ.ก.ส. และหน่วยงานพันธมิตร เดินหน้า “โครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่” HandySense : Smart Farming Open Innovation จัดทำต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ เป้าหมายจะดำเนินการ  16 จุด เป้าขยายผลให้ครบทั้ง 50 ศูนย์ปฏิบัติการภายในปี 2566 หวังพัฒนาการผลิต และคุณภาพสินค้า ยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานแถลงข่าว “โครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่” HandySense : Smart Farming Open Innovation ณ กรมส่งเสริมการเกษตร ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณืการเกษตร ธ.ก.ส. และหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ คือ ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) โดยการสร้างต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์ปฏิบัติการในสังกัดของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 50 ศูนย์ พร้อมพัฒนาความรู้ทักษะในการบริหารจัดการให้แก่เกษตรกรต้นแบบ ใน ศพก.… Continue reading ก.เกษตรฯจับมือพันธมิตรเผยแพร่พิมพ์เขียวระบบเกษตรอัจฉริยะ “HandySense” หวังพัฒนาภาคเกษตรครบวงจร

Published
Categorized as news

เติมเต็ม Ecosystemให้ “ HandySense ”ยกระดับเกษตรกรไทยด้วยงานวิจัยอย่างยั่งยืน

 “ใช้งานง่าย  ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและมีราคาที่เกษตรกรไทยสามารถเข้าถึงได้”   นี่คือจุดเด่นและเป็นเจตนารมย์ของนักวิจัยที่ริเริ่มพัฒนาอุปกรณ์อัจฉริยะอย่าง  “ HandySense” (แฮนดี้ เซนส์) ขึ้น  เพื่อเป็นตัวช่วยในการเริ่มต้นทำเกษตรยุคใหม่ให้กับเกษตรกรไทย   ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติภายใต้การขับเคลื่อนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ที่ต้องการยกระดับเกษตรกรไทยจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่ยังต้องใช้แรงงานคนและขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ มาสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ ที่เป็นเกษตรแม่นยำและเกษตรมูลค่าสูง     โดย “HandySense” หรือ “ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ” ริเริ่มและพัฒนาโดย “นายนริชพันธ์ เป็นผลดี”  ผู้ช่วยนักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS)  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากการเป็นลูกหลานเกษตรกร อาชีพดั้งเดิมของครอบครัว   เมื่อคุณพ่อ ซึ่งเกษียณอายุการทำงาน  กลับไปทำอาชีพเกษตรกรอีกครั้ง  “นริชพันธ์” หรือ “ตุ้น” ซึ่งเป็นนักวิจัยที่พัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเซนเซอร์และไอโอที ( Internet of things: IoT) จึงคิดที่จะประยุกต์ความรู้ที่มี  พัฒนาเป็น “อุปกรณ์อัจฉริยะ” เทคโนโลยีตัวช่วยที่จะทำให้ครอบครัวและเกษตรกรคนอื่น ๆ สามารถทำงานด้านการเกษตรได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น   ระบบบริหารจัดการฟาร์มอัจฉริยะ “HandySense”   อาศัยการทำงานของเทคโนโลยีไอโอทีและเซนเซอร์  ซึ่งประกอบด้วย  2 ส่วนหลัก  ส่วนแรกคือ ระบบเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม  ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดค่าสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชแบบเรียลไทม์ผ่านเซนเซอร์ เช่น เซนเซอร์วัดความเข้มแสง  อุณหภูมิ ความชื้นในดิน และในอากาศ  แสง   และส่งต่อข้อมูลจากเซนเซอร์ผ่านระบบคลาวด์ ไปยังส่วนที่ 2… Continue reading เติมเต็ม Ecosystemให้ “ HandySense ”ยกระดับเกษตรกรไทยด้วยงานวิจัยอย่างยั่งยืน

Published
Categorized as news

พิมพ์เขียวเกษตรอัจฉริยะ ใช้เงินทุนไม่เกิน 5 พันบาท

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และเศรษฐกิจโลกกำลังเป็นตัวผลักดันให้ภาคการเกษตรต้องปรับระบบการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพให้สูงขึ้นในขณะที่โจทย์การทำต้นทุนการผลิตให้ลดลง พร้อมกับการใช้เงินลงทุนที่ไม่สูง ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิดโครงการความร่วมมือส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่” HandySense : Smart Farming Open Innovation ว่า กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ดีแทคและหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ คือ ระบบการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) โดยการสร้างต้นแบบแปลงเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์ปฏิบัติการในสังกัดของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 50 ศูนย์ พร้อมพัฒนาความรู้ทักษะในการบริหารจัดการ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลการบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบอัจฉริยะ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรได้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของชุมชน เพื่อยกระดับสู่การทําเกษตรสมัยใหม่ และเกษตรแบบแม่นยํา (Precision Agriculture)  เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว่า โครงการ Handy Sense มีเป้าหมายจะดำเนินการ รวม 16 จุด แบ่งเป็น ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จำนวน 6 ศูนย์ (เขตละ 1 ศูนย์)… Continue reading พิมพ์เขียวเกษตรอัจฉริยะ ใช้เงินทุนไม่เกิน 5 พันบาท

Published
Categorized as news

เตรียมปล่อยให้ใช้ฟรี ! พิมพ์เขียว HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ

HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ผนวกเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตร และระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติ ได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ด้วยหวังให้เกษตรกรไทยได้ใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในราคาที่จับต้องได้  จากการติดตั้งใช้งานจริงในหลายจังหวัดทั่วประเทศ พิสูจน์แล้วว่า HandySense สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างน้อย 20% จากการลดต้นทุนผลิต ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สู่การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต  วันนี้ HandySense พร้อมแล้วที่จะเปิดเผยองค์ความรู้ด้านการผลิตสู่สาธารณะในรูปแบบ Open Innovation โดยเร็ว ๆ นี้ เนคเทค-สวทช. และพันธมิตร เตรียมปล่อยพิมพ์เขียวการผลิต HandySense ทั้ง Schematic, PCB Design, Bill of Material และ Firmware ให้ทุกคนสามารถนำไปผลิต หรือ ต่อยอดการพัฒนาได้อย่างอิสระ เพื่อร่วมกันผลักดันให้ HandySene เป็นอุปกรณ์ Smart Farm ที่ทุกคนต้องมี ! ติดตามการเปิดตัวพร้อมกันเร็ว ๆ นี้ . . . จองสิทธิ์การใช้งานพิมพ์เขียว HandySense

Published
Categorized as news

เนคเทค-สวทช. ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือพัฒนา “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ”

24 มีนาคม 2560 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ร่วมกับ ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตรและ ร่วมมือกันพัฒนา “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ฟาร์มต้นแบบในการพัฒนาเกษตรแม่นยำผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) หวังเสริมแกร่งเกษตรกรรายย่อย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพทางการเกษตร คิกออฟประเทศไทยสู่ยุคเกษตรกรรม 4.0 เต็มรูปแบบ ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค กล่าวว่า ภาคเกษตรกรรม ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติการเนคเทคระยะ 5 ปี พ.ศ.2560 – 2564 ที่มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ประเทศ ยกระดับมาตรฐานของผลผลิตทางการเกษตรในแง่ของปริมาณและคุณภาพ ซึ่งที่ผ่านมาได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุน Smart Farm อาทิ เทคโนโลยี What2grow ที่นำไปใช้ใน AgriMap Online สถานีตรวจวัดข้อมูลสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และเครื่องนับเมล็ดปาล์มอัตโนมัติ  สำหรับโครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของเนคเทค ได้พัฒนาด้านเทคโนโลยีด้านเซนเซอร์ โดยสร้างระบบควบคุมการเพาะปลูกแบบเครือข่ายเกษตรกร จำเพาะเจาะจงตามชนิดของพืช… Continue reading เนคเทค-สวทช. ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือพัฒนา “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ”

Published
Categorized as news

Handy Sense ระบบเกษตรอัจฉริยะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชาวเกษตรพร้อมทั้งขยายต่อเศรษฐกิจ EEC

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) ใช้งานจริงในพื้นที่ทำการเกษตรปลอดภัยสูงหรือผักปลอดภัย จังหวัดฉะเชิงเทรา ช่วยให้สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของพืช ใช้งานง่าย ทนทาน ราคาถูก ตรวจวัดเกษตรได้อย่างแม่นยำ  5 มีนาคม 2563 จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร ลงพื้นที่การเกษตรติดตามความก้าวหน้าภายหลังจากการ “ถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense)” โดยมี ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวแนะนำและให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชน ณ ฟาร์มผักปลอดภัยสูง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งคุณจิตรกร เผด็จศึก ประธานสหกรณ์ปลูกผักปลอดภัยสูง ให้การต้อนรับพร้อมนำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมฟาร์มที่ติดตั้งระบบ Handy Sense ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส และทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ หน่วยทรัพยากรด้านการคำนวณและไซเบอร์-กายภาพ ได้นำไปติดตั้งในฟาร์มผักปลอดภัยสูง และนำผลผลิตที่ได้จากการนำงานวิจัยมาใช้งานในฟาร์มมาจำหน่าย  หลังจากนั้น นำคณะสื่อมวลชนเข้าดูงานที่นำระบบ… Continue reading Handy Sense ระบบเกษตรอัจฉริยะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชาวเกษตรพร้อมทั้งขยายต่อเศรษฐกิจ EEC

Published
Categorized as example

Handy Sense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ – Smart Farm จากความเข้าใจเกษตรกรไทย

สัมภาษณ์ | คุณนริชพันธ์ เป็นผลดี ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) เนคเทค – สวทช. บทความ | วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์ วิดีโอ | ศศิวิภา หาสุข ภาพประกอบ| ศศิวิภา หาสุข, กรรวี แก้วมูล ไม่ว่าสิ่งรอบตัวจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน แต่ปัจจัยที่ยังยืนหนึ่งของวงการเกษตรไทยไม่เปลี่ยนแปลง คือ สภาพดินฟ้าอากาศซึ่งมีผลโดยตรงต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต แม้สภาพอากาศในปัจจุบันจะแปรปรวนยากต่อการควบคุม แต่วิธีการทางการเกษตรได้อัพเกรดสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farm ตอบรับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามความสมาร์ตอย่างเดียวอาจไม่ใช่ทางออก หากเกษตรกรไม่สามารถเข้าใจและเข้าถึงการใช้งานได้อย่างแท้จริง เนคเทคชวนคุณนริชพันธ์ เป็นผลดี ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) เนคเทค – สวทช. แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ “Handy Sense” อุปกรณ์ Smart Farm ที่สร้างขึ้นจากความเข้าใจเกษตรกรไทย รู้จัก Handy Sense เริ่มต้นจากความเข้าใจเกษตรกรไทย “Handy… Continue reading Handy Sense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ – Smart Farm จากความเข้าใจเกษตรกรไทย

Published
Categorized as example

ตชด.ภาค 1 จับมือเนคเทค จัดโครงการ “เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียง”

กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค-สวทช. เปิดศูนย์เรียนรู้ “เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียง” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2563 และสนองตามพระบรมราโชบายในการ “สืบสาน รักษา และต่อยอด” องค์ความรู้และพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมุ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ระบบสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียงให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สามารถนำไปใช้ถ่ายทอดวิชาให้กับนักเรียนและประชาชนในพื้นที่ ก่อให้เกิดการทำเกษตรกรรมยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และใช้ประโยชน์ได้ ณ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียง พล.ต.ต.ไพโรจน์ ทานธรรม ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 กล่าวว่า “ด้วยยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561 – 2580 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และที่สำคัญที่สุดคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงรับสั่งให้… Continue reading ตชด.ภาค 1 จับมือเนคเทค จัดโครงการ “เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยสมาร์ตฟาร์มแบบพอเพียง”

Published
Categorized as example

มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ เนคเทค-สวทช. และดีแทค ลงนามความร่วมมือนำร่องโครงการฟาร์มสาธิตเห็ดหลินจือด้วยโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ”

มูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563: ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค – สวทช. และ นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ลงนามความร่วมมือนำร่องโครงการแปลงฟาร์มสาธิตเห็ดหลินจือที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนาพื้นที่การเกษตรที่สูงผ่านโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ” ที่ใช้เทคโนโลยี IoT และเซนเซอร์ครบวงจร ที่ทำงานร่วมกับ Cloud Service Mobile Application ที่ดีแทคพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นระบบควบคุมการเพาะปลูกแบบในโรงเรือนให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ทุกฤดู มุ่งผนึกกำลังสร้างเป็นองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้ชุมชนโดยรอบและเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวถึงความร่วมมือดังกล่าวว่า “ตามที่สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น… Continue reading มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ เนคเทค-สวทช. และดีแทค ลงนามความร่วมมือนำร่องโครงการฟาร์มสาธิตเห็ดหลินจือด้วยโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ”

Published
Categorized as news